วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552

เอฟ-5บี ลำแรกของโลก




ประวัติ

F-5B เครื่องแรกของโลก อายุกว่า 40 ปีF-5 B เครื่องนี้หมายเลข 63-8438 เป็น F-5 B เครื่องแรกของโลก บินครั้งแรกเมื่อปี 2507 โดยช่วงสองปีแรกก่อนมอบให้กองทัพอากาศไทย ติดตราสัญลักษณ์กองทัพอากาศสหรัฐฯ จากนั้นในช่วงต้นปี ๒๕๐๙ กองทัพอากาศสหรัฐฯมอบเครื่องบิน F-5 B หมายเลข 63-8438 และ 63-8439 ให้กองทัพอากาศไทย โดยการขนส่งมากับเรือบรรทุกเครื่องบินเข้ามาที่ท่าเรือคลองเตย จากนั้นจึงลำเลียงทางรถยนต์มาที่กรมช่างอากาศดอนเมือง เพื่อทำการประกอบและตรวจเช็ค ก่อนที่ นักบินอเมริกันจะมาทดสอบทำการบิน จากนั้น ผบ.ทอ. (พล.อ.อ.บุญชู จันทรุเบกษา) ขณะนั้น มาทำการทดสอบบินร่วมกับนักบินอเมริกัน และบรรจุประจำการครั้งแรกที่ฝูงบิน 13 กองบิน 1 ดอนเมือง (ปัจจุบันคือท่าอากาศยานดอนเมือง) จนกระทั่งกองทัพอากาศจัดกำลังใหม่ และยกพื้นที่กองบิน 1 ให้เป็นท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ จึงย้ายกองบิน 1 ไปประจำที่โคราช ในปี 2519 - 20 เรียกชื่อฝูงบินใหม่ว่า ฝูงบิน 103 กองบิน 1 โคราช จากนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2529 มีคำสั่งย้าย F-5 ทั้งหมดของฝูงบิน 103 ไปอยู่ที่ฝูงบิน 231 กองบิน 23 อุดร (เพื่อฝูง 103 เตรียมรับ F-16) ประจำการอยู่กองบิน 23 จนกระทั่งปี 2553 จึงมีคำสั่งรวม F-5 A/B/E/RF-5 A ของฝูงบิน 231 ทั้งหมดไปรวมกับ F-5 E/F ของฝูงบิน 711 กองบิน 71 และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นกองบิน 7 ฝูงบิน 701 แทน จนกระทั่งปัจจุบัน [1]


[แก้] การใช้งาน

F-5B The Oldest Tiger ฝูงบิน 701 กองบิน 7 สุราษฏ์41 ปีนับจากปี พ.ศ. 2509 (1966) F-5B "The Oldest Tiger" ลำนี้ ได้ฝึกนักบินขับไล่ชั้นยอดให้กับกองทัพอากาศมากมาย หนึ่งในลูกศิษย์ของ The Oldest Tiger ที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งคือ พล.อ.อ. ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศคนปัจจุบัน พล.อ.อ. ชลิต ได้รับการฝึกเป็นนักบินขับไล่กับเครื่องบินลำนี้มาโดยตลอด โดยมีชั่วโมงบินกับ F-5 ครบ 1,000 ชม. ในปี 2520 ตลอดชีวิตนักบินของ พล.อ.อ. ชลิต มีชั่วโมงบินกับ F-5 มากกว่า 2,000 ชม. ถือเป็นนักบิน F-5 คนแรกของไทยและเอเชียที่ทำการบินได้มากขนาดนี้

ทั้งนี้ พล.อ.อ. ชลิต จะเกษียณอายุราชการในปีหน้าเช่นกัน

หลังจากรอการทำพิธีปลดประจำการอย่างเป็นทางการ The Oldest Tiger จะถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ดอนเมืองและกองบิน 7 จะทำการทะยอยปลดประจำการ F-5 ในฝูงบิน 701 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับ JAS-39 Gripen เข้าประจำการ[2]





[แก้] เกี่ยวกับ F-5
F-5A/B ถือได้ว่าเป็นเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงแบบแรกของกองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศจัดหา F-5A ลำแรกเข้าประจำการในปี 2509 กำหนดชื่อว่า "บ.ข.๑๘" ส่วน F-5B รุ่นสองที่นั่งซึ่งได้รับเข้าประจำการในปีเดียวกัน กำหนดชื่อว่า "ข.๑๘ ก"

กองทัพอากาศสหรัฐตั้งใจจะผลิต F-5 ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ราคาถูก บำรุงรักษาได้ง่าย สำหรับชาติพันธมิตรในโลกเสรีใช้ป้องกันประเทศ F-5A/B Freedom Fighter ขึ้นบินครั้งแรกในวันที่ 30 ก.ค. 2502 ส่วน F-5E/F Tiger II ขึ้นบินครั้งแรกในวันที่ 11 ส.ค. 2515 และปิดสายการผลิตในปี 2530

F-5 มีประจำการในกองทัพอากาศถึง 36 ชาติ และในปัจจุบันยังมี F-5 ประจำการทั่วโลกเกือบ 1,000 ลำ โดยผู้ใช้ F-5 ในปัจจุบันที่จัดหา F-5 เข้าประจำการในช่วงท้าย ๆ และโครงสร้างยังมีอายุการใช้งานเหลืออีกพอสมควร ก็ดำเนินการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสามารถ เช่นโครงการปรับปรุง F-5S/T ของสิงคโปร์, F-5BR ของบราซิล, F-5 LIFTs สเปน,F-5E/F Tiger III ของชิลี, F-5 2000 ของตุรกี, และ F-5T Tigres ของไทย

F-5 ลำสุดท้ายของกองทัพอากาศเกาหลีใต้และบราซิลจะปลดประจำการในปี 2563


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น