วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

ASUS M4A78T-E บอร์ด AMD ตัวแรง

สวัสดีทุกๆท่านที่แวะเวียนกันกันมา (อาจจะมีบ้างท่านที่หลงเข้ามาก็คงมี) ช่วงนี้สาวกเอเอ็มดีส่วนมากคงจะดี้ด้ากันใหญ่สิยิ่งบ้างคนอาจจะออกดี้ด้ากันออกหน้าออกตาครับ ซึ่งปีนี้คงจะมีซีพียูรุ่นใหม่จากทางเอเอ็มดีในรูปแบบซ็อกเก็ต AM3 ออกมาให้ว่อนกันเลยก็ว่าได้ครับ สำหรับการใช้เมโมรีแบบ DDR3 บน AMD ในปีนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับเอเอ็มดีกันอยู่ครับ ช่วงนี้คงจะได้เห็นเมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูเอเอ็มดีในรูปแบบซ็อกเก็ต AM3 แบบเต็มๆสูบครับ ซึ่งเป็นการที่ใช้ซีพียูซ็อกเก็ต AM3 ร่วมกับเมโมรีกันในแบบDDR3 นั้นเอง ซึ่งในตลา่ดเมโมรีโลกนั้น เมโมรีแบบ DDR3 นั้นก็ลดราคาลงมากันเรื่อยๆแล้วครับ สำหรับเมนบอร์ดที่ผมนำมารีวิวในวันนี้ก็คงคงมาจากยี่ห้อดังจากเกาะไต้หวันกันก็คือ ASUS นั้นเองครับ ในรุ่นที่มีชื่อว่า M4A78T-E ซึ่งซี่รี่ M4A นั้นก็จะเป็นซีรี่ที่ได้ออกมาเพื่อการรองรับที่แท้จริงของซ็อกเก็ต AM3 แต่ซีพียูที่มีขายกันในตลาดโลกก็ยังคงมีแต่เพียงรุ่น Phenom II X4 และ X3 กันเท่านั้น ในอนาคตอาจจะได้เจอกับ Athlon X4/3/2 ที่เป็นรูปแบบของซ๊อกเก็ต AM3 ซึ่ง ASUS M4A78T-E นั้นก็ได้ใช้ขุมพลังมาจาก AMD790GX ผนวกกับ เซาบริจน์ SB750 ซึ่งในเวลานี้นั้น AMD790GX+SB750 ตามลำดับขึ้นแล้วก็ยังคงเป็นเพียงรุ่นที่รองมาจาก AMD790FX+SB750 ในด้านราคา แต่ว่าส่วนประสิทธิภาพนั้นอาจจะต่างกันไม่มาก แต่อุดมไปด้วยความคุ้มค่ามากๆเพราะว่า AMD790GX นั้นได้รวมกราฟฟิกซิพอย่าง ATI Radeon HD3300 เข้ามาไว้ด้วยครับ แล้วรองรับการต่อ CrossFire ซะอีกด้วย ไม่รู้ว่า ASUS M4A78T-E นั้นจะมีความน่ากลัวอะไรแค่ไหน ก็ลองตามชมดูนะครับ สำหรับ AMD790GX นั้นประสิทธิภาพของตัวมันเองย่อมที่จะเหนือกว่า AMD780G อย่างแน่นอนที่สุดครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสามารถในการโอเวอร์คล๊อก ,การรองรับการเชื่อมต่อที่ได้ดีกว่า และความสามารถของกราฟฟิกชิฟที่ดีกว่า AMD780Gอยู่พอสมควรครับ เพราะว่า ATI Radeon HD3300 นั้นได้มีเมโมรีแบบ DDR3 ความจุ 128MB ที่เรียกว่า Side Port ถ้าให้อธิบายกันง่ายๆและสั้นๆก็คือ มันเป็นการ์ดจอออนบอร์ดที่มีเมโมรีเป็นของตัวเองครับ สำหรับชุดเด่นที่สำคัญของ ATI Radeon HD3300 นั้นก็มีอยู่มากมายครับ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือมันมีเทคโนโลยี่ UVD ก็สามารถนำไปใช้ทำ HTPC ได้สบายๆเลยครับ เพราะ UVDนั้นก็คือความสามรถที่จะถอดรหัสวีดีโอในรูปแบบความละเอียดสูงได้โดยไม่ต้องมาพึ่งพาซีพียูเลยครับ แล้วถ้าใช้ไปซักพักอยากจะเล่นเกมส์กันก็สามารถที่จะซื้อกราฟฟิกการ์ดแรงมาซักใบสองใบก็สามารถอัำพเกรดความสามารถในการเล่นเกมส์ได้อีกด้วยครับ แต่แค่เพียงATI Radeon HD3300 ออนบอร์ดนั้นก็สามารถนำไปใช้เล่นเกมส์ที่ไม่กินพลังกราฟฟิกซิพได้แล้วครับ ไม่ใช่แค่นำไปใช้เล่นได้เพียงแต่เกมส์ยิงไข่เพียงอย่างเดียวครับ


























ตัวแพ็กเกจนั้นก็ดูๆไปก็คล้ายๆกับในซีรี่ M4A ในด้านสีของตัวกล่อง แต่รายละเอียดที่แจ้งเอาไว้ก็ย่อมไม่เหมือนกันอย่แล้วแน่นอนครับของที่ให้มาในกล่องนั้นก็จะมีตามการใช้งานครับ ไม่ว่าจะเป็นพวกสายต่าง ,หัวต่อต่างๆ รวมไปถึงคู่มือของตัวเมนบอร์ดเองครับ












ขนาดของบอร์ดนั้นก็จะมีขนาดแบบ ATX ซึ่งสีของตัว PCB นั้นอาจจะไม่เข้มดำเหมือนกันเมนบอร์ดในรุ่นระดับสูงๆเท่าไรครับสีนั้นก็จะออกแนวสีน้ำตาลเข็มจนเกือบไหม้ครับ ซึ่งการจัดวางของอุปกรณ์นั้นก็ลงตัวดีครับ มีแต่ช่องต่อ Port Com 1ที่อาจจะดูขัดๆไปหน่อยครับ แต่สมัยนี้คงมีน้อยท่านที่จะใช้งา่นช่องนี้ครับ แต่เมนบอร์ดตัวนี้ใช้ปลั๊กไฟเลี้ยงซีพียู 12v แบบ 4 พินเท่านั้นครั












ซ๊อกเก็ตนั้นก็คงจะเป็นไปอะไรไม่ได้เลยนอกจาก AM3 ครับ ซึ่งตอนนี้ที่มีวางขายกันก็ยังคงมีแต่ Phenom II X4/3 อยู่ครับในอานาคตก็คงจะได้เห็น Athlon X4/3/2 ในรูปแบบซ็อกเก็ต AM3 กันครับ ไม่รู้ว่าในอนาคตข้างหน้านั้นคงจะมี AM3+ อีกมั้ง









เมโมรีที่เมนบอร์ดรุ่นนี้รองรับนั้นคงเป็นอะไรไปไม่ได้แน่ๆ นอกจาก DDR3 เท่านั้นครับ คงจะใส่เมโมรีแบบ DDR2 ไม่ลงครับ
ซึ่งความเร็วที่รองรับนั้นก็ 1600 (ในรูปแบบการโอเวอร์คล๊อก) ที่ต้องรองรับแน่ๆก็คือ 1333 ตามมาตาฐานของ AM3 ครับ
แต่ในคู่มือก็มีบอกไว้อีกว่ารองรับแบบ 1066 ครับ ซึ่งผมก็ไม่เคยเห็นในตลาดเท่าไรครับ ความจุที่รองรับมากที่สุดของเมนบอร์ด
รุ่นนี้นั้นก็คือแบบ 16GB ครับ ส่วนในการทำ Dual Channels นั้นก็รองรับการทำอยู่แล้วครับ ถ้าไม่รองรับดิน่าดูเลยครับ
แล้วก็ยังสามารถนำเมโมรีแบบ ECC มาใช้ได้ด้วยนะครับ เพราะว่าตัวซีพียู AMD ยุค K10 นั้นรองรับเมโมรีแบบ ECC ด้วยครับ


สล๊อตการใส่อุปกรณ์นั้นก็จะมี PCI-e x16 สองช่องซึ่งรองรับการทำ CrossFire X เลยเชียวนะครับ ชึ่งในกาตต่อ CrossFire นั้น
ก็จะเป็นแบบ x8+x8 ครับ ซึ่งความเร็วของการต่อแบบ x8+x8 นั้นก็ไม่ได้ช้ากว่าแบบ x16+x16 เท่าไรเลยครับ ซึ่งขนาดในโปรแกรม Benchmark 3D นั้นคะแนนยังต่างแทบดูไม่ออกเลยครับ ,ส่วน PCI-e x1 ไปอีกสองช่อง และ PCI ให้มากันอีกสองช่องครับ


ภาคจ่ายไฟนั้นก็จะเป็นแบบ 8+1 เฟสครับ ซึ่ง 8 เฟสนั้นก็จะมีหน้าที่จ่ายไฟสู่ซีพียูในส่วนหลักๆครับ ส่วนอีกหนึ่งเฟสที่เหลือก็จะมี
หน้าที่จ่ายไฟเข้าสู่ซีพียูในส่วนของ HT และ Memeory Controler ครับ ซึ่งการมีภาคจ่ายไฟมากๆนั้นก็ช่วยทำให้ระบบนั้น
สามารถทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพกันสุดๆ แม้ว่าจะทำการโอเวอร์คล๊อกกันอย่างโหดร้ายในการใช้งานครับ ภาคจ่ายในในส่วนของ
ม๊อฟเฟสนั้นก็ยังได้มีฮีทซิงค์ระบายความร้อนที่มีสีน้ำเงินสุดแสนสวยสดใสมากครับ ซึ่งจะเป็นได้ว่าปลักไฟเลี้ยงซีพียูนั้นเป็นแบบ 4 พิน



ฺBack Panal I/O Ports ก็จะมีรายการดังนี้

1 x DVI
1 x D-Sub
1 x HDMI
1 x External SATA
1 x S/PDIF Out (Optical)
1 x IEEE 1394a
1 x LAN(RJ45) port
6 x USB 2.0/1.1
8 -Channel Audio I/O
1 x PS/2 Keyboard port (Purple)



อ้างอิง
http://overclockzone.com/tor_za/year_2009/03/asus_m4a78-t/




http://www.tlcthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น