วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

HITACHI Deskstar E7K1000 สำหรับคนที่สนใจฮาร์ดดิส นะครับ




วันนี้ก็ต้องมาเจอกันกับผมอีกแล้วครับ ก็ต้องขอกราบสวัสดีทุกท่านๆที่แวะมาเยี่ยมเเยือนกันด้วยครับ ไม่ว่าจะเข้ามากันทุกๆวันและท่านที่เข้ามาเป็นบ้างครั้งบางคราวครับ ช่วงนี้ปัญหาต่างๆก็มีกันเยอะวุ่นวายไม่ว่าจะ ปัญหาหัวใจ ปัญหาเรื่องการเงิน ,ปัญหาในชีวิตต่างๆนาๆ ก็ค่อยๆหาทางแก้กันไปครับ ยังไงทุกปัญหาต้องมีทางออก แต่หลายๆท่านผู้ใช้คอมพิวเตอร์ก็มีอยู่ส่วนมากที่เจอปัญหาก็ข้อมูลนั้นมากเกินไปที่จะสามารถจัดเก็บได้ในฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์กันก็คงจะมีครับ แต่ปัญหาร้ายแรงที่สุดที่หลายๆท่านก็คงเคยเจอกันอยู่คงเรื่องที่การ์ดนำฮาร์ดดิสไดรฟ์ไปใช้ผิดประเภททำให้เกิดอาการที่ว่า ฮาร์ดดิสไดรฟ์นั้นก็สิ้นอายุไขลงไปก่อนเวลาอันสมควรกันครับ ซึ่งก็เป็นปัญหาที่ว่าเกิดจากการนำฮาร์ดดิสไดรฟ์แบบที่สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป แต่นำฮาร์ดดิสไดรฟ์ประเภทนั้นไปใช้งานทั้งหนักหน่วงและใช้งานตลอดเวลากันครับ ซึ่งเดี๋ยวนี้ผู้ผลิตฮาร์ดดิสไดรฟ์ก็เริ่มปล่อยฮาร์ดดิสไดรฟ์ในเกรด Enterprise มาวางขายกันในบ้านเรากันอยู่ได้ซักพักแล้วซึ่งฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ระดับ Enterprise นั้นจะเน้นกันที่สามารถรองรับการทำงานแบบหนัก ไม่ว่าจะทำงานได้แม้อยู่ในที่ร้อนๆที่ระบายอากาศไม่ค่อยดี หรือว่าการใช้งานอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการเรียกใช้ข้อมูลและการบันทึกข้อมูลลงไปในตัวของมันอย่างตลอดเวลาและต่อเนื่องครับ ซึ่งสมัยก่อน ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ระดับ Enterprise จะมีอยู่แต่ในพวก ServerและWorkstation กันเท่านั้นเองครับ ซึ่งใช้เป็นการเชื่อต่อแบบ SCSI กัน ผู้ใช้ตามบ้านแต่ต้องการใช้งานหนักก็คงจะยากที่จะหามาใช้งานครับ แล้วฮิตาซิ ก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ทดิสก์ไดรฟ์ชั้นนำของโลกที่ได้มี ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ระดับ Enterprise ในบ้านเราเช่นกันครับ ซึ่งหลายท่านนั้นก็คงอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกับยี่ห้อ จริงๆแล้วข้อดีของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ระดับ Enterprise นั้นก็จะมีหลักๆไม่กี่ข้อกันหรอกครับ ที่แน่ๆก็คือการที่รองรับการต่อ RAID ครับเพราะว่าการทำงานของตัวฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์นั้นเมื่อทำการต่อ RAID แล้ว มันจะต้องทำงานหนักอย่างมากครับ แล้วก็ยังรองรับการทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการเขียนข้อมูลหรือการอ่านข้อมูลอย่างตลอดเวลาครับ ซึ่งมันก็เป็นเพียงสองข้อหลัก ข้อปลีกย่อยนั้นก็รวมไปถึง การทำงานในอากาศที่ร้อนๆ แล้ยังทนต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์แบบที่เหมาะกับการใช้งานตามบ้านครับ สำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ผมนั้นได้นำมารีวิวในวันนี้นั้นก็จะมีชื่อรุ่นว่า Deskstar E7K1000 ซึ่งมีความจุ 1TB แล้วยังมาพร้อมกับ Buffer ถึง 32MB รูปแบบการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รุ่นนี้ก็คือ SATA II ครับ ซึ่งฮิตาซิ ก็ได้มีเทคโลโยยีในการที่บันทึกข้อมูลี่แปลกกว่าผู้ผลิตยี่ห้ออื่นนั้นก็คือ การบันทึกข้อมูลแบบแนวดิ่ง หรือ Perpendicular Magnetic Recording (PMR):ซึงทางฮิตาชิได่้บอกกล่าวไว้ว่าการจับเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีนี้นั้นสามารถทำให้จัดเก็บข้อมูลได้ดีกว่าแบบดั่งเดิม จริงๆแล้วฮิตาซินั้นได้ใช้เทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ ปลายปี 2006 แล้วครับ แสดงว่า HITACHI Deskstar E7K1000 นั้นก็ได้ใช้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบแนวดิ่งอย่างแน่นอนครับ









ด้านหน้าของ HITACHI Deskstar E7K1000 นั้นก็จะว่าไปนั้นมันเป็นฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้วแบบปกติครับ
ซึ่งด้านหน้านั้นก็มีสติกเกอร์บ่งบอกรายละเอียดต่างๆของ HITACHI Deskstar E7K1000 ไว้อยู่อยู่พอสมควรครับ


ด้านหลังก็จะเห็นได้ว่ามีแผงวงจรที่มีขนาดเล็กๆลงไปเรื่อยๆตามยุคตามสมัยของการลดต้นทุนครับ ซึ่งบริเวณแผงวงจรนั้น
ก็จะเรียกได้ว่าเป็นที่รวมหัวใจหลักการทำงานเอาไว้ครับ แต่หัวใจหลักของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์อย่างแท้จริงก็คือจานแม่เห็นที่มีหน้าที่ในการ
เก็บข้อมูลครับ



ซีพียูที่เลือกในการทดสอบนั้นก็คือ AMD Phenom II X3 720 Black Edition ซึ่งความเร็วที่ใช้นั้น จริงๆแล้วก็ไม่ค่อย
มีผลต่อการทำงานของตัวฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เท่าไรครับ แต่มันเป็นคุณค่าทางจิตในในการทดสอบ PCMark 2005 ครับ เพื่อว่าในการ
ทดสอบนั้นจะได้เห็นความแตกต่างระหว่างทั้งสองรุ่นครับ



เมนบอร์ดที่ใช้นั้นวันนี้ผมขอเลือกใช้ซิพเซ็ตจากทาง AMD ในรุ่น 790GX ที่มากับเซาบริจน์ SB750 ซึ่งในการควบคุมใน
การทำงานของตัวฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์นั้นเซาบริจน์ตัวกลางในการควบคุมครับ ซึ่งจริงๆแล้ว SB750 นั้น ถ้าให้พูดกันตรงๆเลยจริงๆครับ
คือความแรงของพลัง SATA นั้นไม่ได้แรงที่สุด แต่เท่าที่ลองๆเล่นมานั้นก็จะเรียกว่าในระดับรองจากตัวที่แรงที่สุดก็แล้วกันครับ จะได้
ไม่โดนกล่าวหาว่าเทสของปั่นคะแนน เหมือนที่มีใครพูดก็ไม่รู้ตามเว็บบอร์ดว่าเอา SSD มาลงวินโด้แล้วเทสโชว์ครับ



เมโมรีนั้นก็ยังคงใช้เป็นของ Crucial ในแบบ DDR3 ความเร็วบัส 2000 CL9 ครับ ซึ่งในการทดสอบจริงๆนั้นไม่ได้จับ
เมโมรีมาวิ่งตามสเป็กครับ ถ้าท่านใดเล่น AM3 แบบเต็มๆสูบก็คงจะทราบกันดีครับ แต่ตอนนี้จะมีกี่คนที่ได้เล่นเนี่ย อิอิ




การ์ดจอนั้นผมก็ขอเลือกใช้ตัวที่แรงที่สุดไปเลยละกันครับ เพราะว่าในโปรแกรม PCMark 2005 นั้นจะได้เห็นความต่าง
ของคะแนนรวมได้อย่างชัดเจนระหว่างฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในการทดสอบครับ




Hard Disk Drive Setup


สำหรับในตัวฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทั้งสองตัวที่นำมาใช้เป็นการทดสอบทั้งสองลูกนั้น ในการลงระบบปฎิบัติการนั้นผมไม่ได้ทำ
การลงใหม่แบบสดๆร้อนๆครับ เพราะว่าเดี๋ยวจะมีคนมาว่าปั่นคะแนนโชว์แบบตอนที่ผมทำ SSD หล่ะครับ ผมจึงได้ทำการ Clone
จากฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ปกตินั้นผมใช้ทำการทดสอบครับ (จริงๆแล้วตอนที่ผมเทส SSD ผมก็ Clone มานะครับ )








อ้างอิง

http://overclockzone.com/tor_za/year_2009/03/hitachi_deskstar_e7k1000/index.htm

http://www.tlcthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น